no info
🕗 opening times
Sunday | ⚠ | |||||
Monday | ⚠ | |||||
Tuesday | ⚠ | |||||
Wednesday | ⚠ | |||||
Thursday | ⚠ | |||||
Friday | ⚠ | |||||
Saturday | ⚠ |
Taling Chan, Bangkok, จังหวัด กรุงเทพมหานคร 10170, Thailand
contacts phone: +66
larger map & directionsLatitude: 13.740726, Longitude: 100.433646
Mano K.
::มีที่จอดรถเล็กน้อย ติดคลองบางเชือกหนัง มาทางเรือ จากสะพานพระพุทธยอดฟ้า จะดีมากครับ
pimuk kanpoon
::เป็นวัดบ้านเกิดผมเองไม่ค่อยได้ถ่ายซักเท่าไร จุดที่ถ่ายคือหน้าบ้านผมเอง ผมเด็กหลังวัดฮิๆๆตรงนี้อาทิตยตกสวยน่ะแต่ก่อนมีแต่สวนมีแต่ป่า โกดังเก็บศพยังเป็นแค่สังกะสีอยู่เลยเดินผ่านไปโรงเรียนทุกวัน ทุกวันนี้อะไรๆก็เจริญไปหมดขายที่กันเกลี้ยงมีแต่บ้านหลังใหญ่ๆๆโตๆๆ คงเหลือแต่ระแหวกบ้านผมนี่แหละที่ไม่ขายยังคงเป็นบ้านสงนริมคลองหลังวัด วัดพิกุล ประวัติวัดพิกุล ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๒ (กรมการศาสนา ๒๕๒๖, หน้า ๒๐๙) กล่าวไว้ว่า “…วัดพิกุล สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๒๓ ปลายสมัยธนบุรี ไม่ทราบนามและประวัติผู้สร้าง เกี่ยวกับนามวัดอาจบ่งบอกถึงนามผู้สร้างวัด แต่ยังหาหลักฐานที่แน่ชัดไม่ได้ การบูรณะพัฒนาวัดในระยะเริ่มมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๗ เป็นต้นมา ทำให้วัดเจริญรุ่งเรือง เป็นที่รู้จักกันทั่วไป…” ส่วนในศิลปกรรมในบางกอก ของ น. ณ ปากน้ำ (๒๕๑๓, หน้า ๑๐๖) กล่าวถึงวัดพิกุลไว้ในหมวดวัดในคลองบางเชือกหนัง ดังนี้ “ตั้งอยู่ทางฝั่งขวามือ พระอุโบสถหันออกลำคลองเป็นโบสถ์เก่า ชนิดก่อปูนผนังหน้าหลังขึ้นไปจดอกไก่ แต่ก็ถูกต่อเติมจนผิดรูปไปเสียแล้ว เข้าใจว่าจะเป็นวัดโบราณวัดหนึ่ง มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับวัดกำแพง” หลวงพ่อหวล หรือ “พระครูนวการโกศล” (ชั้นเอก) นี้ ได้รับคำจากพระผู้ใหญ่ให้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดพิกุลเพราะเห็นว่าวัดใกล้จะร้างเต็มที ตอนนั้นท่านอายุ ราว ๔๐ เห็นจะได้ ท่านเป็นศิษย์ของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยุธยา เช่นเดียวกับหลวงพ่อนวลที่วัดโพธิ์(ตลิ่งชัน) ที่ไปเรียนวิชายันต์เกราะเพชร จากหลวงพ่อปานมาด้วยกัน สมัยหนึ่งยันต์เกราะเพชรของวัดโพธิ์กับวัดพิกุลจึงแทบจะแยกกันไม่ออก… เล่ากันอีกว่าเมื่อบวชมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว หลวงพ่อหวลกับหลวงพ่อนวลก็ไปลาหลวงพ่อปานว่าจะออกธุดงค์กัน หลวงพ่อปานก็ทำนายไว้ว่า “ไปสองจะกลับมาแค่หนึ่ง” ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้น เพราะหลวงพ่อนวลมรณภาพระหว่างออกธุดงค์ “เหรียญรุ่นฝาบาตร” อันมีหลวงพ่อนวล–หวล คู่กัน นับเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้นิยมพระเครื่อง คนในตลิ่งชันศรัทธาหลวงพ่อหวลมาก เพราะในอีกด้านหนึ่งนั้น พระไสวเล่าว่า “ท่านเป็นพระหมอด้วย ค่าครูสลึงเดียว รักษาพวกกระดูกแตก กระดูกหัก ผีเข้าสิง เจ็บไข้ …ตอนรักษาก็ให้มาจดชื่อ เขียนวันเดือนปีเกิด แล้วก็ไล่กลับบ้าน แต่ใครไปกะเกณฑ์ท่านไม่ได้ อย่างถ้าท่านขึ้นทำโบสถ์ใหม่ มีคนมาหา ชักดิ้นชักงออยู่ที่ลานวัด ท่านก็ไม่ลงจนกว่าจะได้เวลาของท่าน” สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่เห็นในบริเวณวัดปัจจุบันนี้ เกือบทั้งหมดสร้างขึ้นในสมัยหลวงพ่อหวล ซึ่งท่านเป็นนายช่างเองด้วย ตั้งแต่หมดหลวงปู่ผิว ไปทุกวันนี้เจ้าอาวาสก็มาจากวัดอื่นเปลี่ยนแปลงบูรณะ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงทำบุญจะมีเรือนักท่องเที่ยวมาปั่นจักรยานเที่ยวประจำทุกวัน
ศิริพร ชูลีระรักษ์
::วัดยรรยากาศดี ติดคลองลมเย็น สงบดี ให้ทุกคนมาทำบุญเยอะๆ น่ะค่ะ
kanti ma
::ดีมากเลยค่า
Mickey MoMo
::